วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประวัติโรงพิมพ์ ธุรกิจการพิมพ์ หนังสือพิมพ์ไทย โรงพิมพ์

การเขียนบันทึกความรู้ต่างๆลงในใบลาน เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานสู่คนรุ่นหลังนั้นมีมานานแล้ว เป็นที่ทราบกันว่า เทคโนโลยีการพิมพ์เริ่มชัดเจนเมื่อ วันที่ 3  มิถุนายน ค.ศ.1836 (พ.ศ. 2379) หนังสือไทยฉบับแรกที่พิมพ์ขึ้นในเมืองไทย ซึ่งเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า การจัดพิมพ์ตัวหนังสือไทยในเมืองไทยเป็นครั้งแรก เป็นเวลา 150  ปี แต่การพิมพ์หนังสือในไทยน่าจะมีมาก่อนแล้วในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่ก็ไม่มีหลักฐานที่จะอ้างได้ว่ามีการพิมพ์หนังสือด้วยตัวหนังสือไทย แต่อาจจะพิมพ์ด้วยตัวอักษรโรมัน มีหลักฐานพออ้างได้ว่าเมื่อ  ค.ศ.1662(พ.ศ.2205) มีคณะมิชชันนารีคาทอลิกฝรั่งเศสที่เข้ามา ในประเทศไทย ได้พิมพ์หนังสือคำสอนทางศาสนาคริสต์เป็นภาษาไทย และได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นที่ตำบลเกาะมหาพราหมณ์เหนือกรุงเก่าขึ้นไป ส่วนอีกโรงอยู่ที่เมืองลพบุรี ต่อมาใน  ค.ศ.1670(พ.ศ. 2213) มิชชันนารีอีกผู้หนึ่ง ชื่อลองกลัวส์ก็ได้คิดจัดตั้งโรงพิมพ์เพื่อพิมพ์หนังสือไทย จึงขอให้ทางประเทศฝรั่งเศสจัดส่งช่างแกะตัวพิมพ์มาให้เพื่อจะได้ทำการพิมพ์คำสอนทางคริสต์ศาสนาเป็นภาษาไทยโดยใช้ตัวอักษรโรมัน และมีจดหมายเหตุของบาทหลวงซึ่งได้เขียนไว้ในสมัยนั้น เพื่อขอเครื่องพิมพ์สำหรับพิมพ์หนังสือเหมือนกับที่เขาทำกันแล้วในเมืองมะนิลา แม้จะไม่ชัดว่าเครื่องพิมพ์ได้ถูกส่งเข้ามาในประเทศไทย แต่ก็ดีพอเป็นพยานให้เห็นชัดว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้คิดที่จะตั้งโรงพิมพ์ขึ้นในประเทศ แต่ถึงแม้ว่าจะได้มีการพิมพ์หนังสือเกิดขึ้นในสมัยนั้นจริง แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าหนังสือเหล่นั้นหายสาบสูญไปหมดไม่เหลือร่องรอย จึงได้แต่อ้างหลักฐานแวดล้อมกรณีพอเป็นแนวทางให้เห็นได้ว่าได้ มีการพิมพ์หนังสือเกิดขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่คงจะเป็นการพิมพ์โดยใช้ตัวพิมพ์อักษรโรมันเรียงพิมพ์ให้อ่านออกเป็นภาษาไทย ไม่ได้ใช้ตัวพิมพ์เป็นตัวหนังสือไทย ในยุคธนบุรีและต้นรัตนโกสินทร์นี้  การพิมพ์ได้ถูกนำเข้ามาในเมืองไทยอีกครั้งในสมัยพระเจ้าตากสิน กรุงธนบุรี โดยบาทหลวงคาทอลิก ชื่อการ์โนลต์ ได้จัดตั้งโรงพิมพ์และพิมพ์หนังสือขึ้นที่วัดซังตาครูซ ตำบลกุฎีจีนในจังหวัดธนบุรี คงจะเป็นสมัยคาบเกี่ยวระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  กับสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และได้มีการจัดพิมพ์หนังสือ คำสอนคริสตังใน ค.ศ.1796 (พ.ศ. 2339) ซึ่งเป็นหนังสือเล่มแรกที่พิมพ์ในเมืองไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แต่การเป็นหนังสือที่พิมพ์เป็นเล่มแรกในเมืองไทยนั้น คงจะอ้างเต็มที่ไม่ได้ เพราะถ้าจะพูดถึงการเอาตัวหนังสือโรมันมาพิมพ์เป็นภาษาไทยเป็นเล่มหนังสือขึ้นมาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ บุคคลสำคัญในประวัติการพิมพ์ของไทยอีกคนหนึ่งที่ต้องกล่าวถึงคือ นางจัดสัน (Nancy Judson) ซึ่งเป็นมิชชันนารีชาวอเมริกันที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาในเมืองย่างกุ้งของประเทศพม่า มีความสนอกสนใจในภาษาไทยจึงได้ทำการหล่อตัวพิมพ์เป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2356 หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่สองไปแล้วราว 40 กว่า ปี แต่ต่อมาตัวพิมพ์ชุดนี้ยังไม่ทันได้ใช้งาน ก็ถูกซื้อไปเก็บไว้ที่ประเทศสิงคโปร์โดย โดยมิชชันนารีคณะ American Board of Commissioners for Foreign Missions อันเป็นคณะมิชชันนารี ที่ หมอบลัดเลย์ได้เข้ามาสังกัดอยู่ และภายหลังได้ใช้ชุดหล่อตัวพิมพ์ชิ้นนี้ พิมพ์หนังสือภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกจนได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการพิมพ์ของไทย จากประวัติที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จึงอาจกล่าวได้ว่าคนสำคัญที่นำกิจการพิมพ์เข้ามาในเมืองไทย เริ่มก่อให้เกิดการพิมพ์ขึ้นและแพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวางจะต้องยกให้ว่า คือ หมอบรัดเลย์ ชื่อเต็ม Dr. Dan  Beach Bradley  M.D.  เกิดในวันที่18 กรกฏาคม ค.ศ.1808 (พ.ศ. 2351) ต่อมาในปีพ.ศ. 2385 หมอบลัดเลย์ได้หล่อชุดพิมพ์ขึ้นมาใหม่ และในอีกสองปีต่อมาหมอบลัดเลย์ได้ใช้ชุดพิมพ์ตัวใหม่นี้ จัดพิมพ์หนังสือพิมพ์รายเดือนภาษาไทยฉบับแรกขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่าชื่อว่าบางกอกรีคอเดอ (Bangkok Recorder) ออกวางจำหน่าย ซึ่งถือเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับแรกที่มีขึ้นในประเทศไทย แต่หนังสือพิมพ์เล่มดังกล่าวก็อยู่ได้ไม่นานต้องปิดตัวไป เพราะเป็นช่วงเวลาที่ภรรยาของหมอบลัดเลย์สิ้นชีวิตพอดีทำให้การดำเนินกิจการหนังสือพิมพ์รีคอเดรอ์ไม่สามารถเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จึงต้องหยุดลงชั่วคราวโดยหมอบลัดเลย์ตัดสินใจเดินทางกลับประเทศของตนเป็นระยะเวลาหนึ่งและได้แต่งงานใหม่ก่อนจะกลับคืนสู่ประเทศไทยอีกครั้ง  กลับมาคราวนี้หมอหมอบลัดเลย์ได้ลาออกจาก American Board of Commissioners of Foreign Missions เข้ามาย้ายไปสังกัดองค์กร American Missionary Association (AMA) แทน การพิมพ์ของไทยมีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ ภายหลังที่หมอบรัดเลย์ได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทยแล้วก็ได้มีคนอื่นๆ  ได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นตามลำดับ ตอนแรกๆ โรงพิมพ์ ที่ตั้งขึ้นใหม่เป็นโรงพิมพ์ของพวกฝรั่ง และเมื่อได้ตั้งขึ้นแล้วก็ได้ออกหนังสือพิมพ์แข่งขันกับหมอบรัดเลย์ ปัจจุบันได้กลายเป็นอุตสาหกรรมการพิมพ์เต็มรูปแบบและมีแนวโน้มจะขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ  ที่สามารถตอบสนองความต้องการ ของคนได้ในทุกกลุ่ม  ทั้งเป็นเรื่องของความรู้ความบันเทิง และตอบสนองได้แม้กระทั่งความสนใจเฉพาะทาง แต่ความรู้เหล่านั้น จะถ่ายทอดถึงกันไม่ได้เลยหากเราเลือกที่ จะวางหนังสือไว้อย่างเงียบๆบนชั้นหนังสือโดยที่ไม่ได้เปิดออกอ่าน

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ โรงพิมพ์หนังสือ

บทความนี้ได้รวบรวมสำนักพิมพ์ต่างๆไว้ให้เป็นข้อมูลในการค้นหาสำนักพิมพ์ต่างๆนอกเหนือจากโรงพิมพ์ที่เคยรวบรวมไว้ก่อนหน้านี้ เพราะบล็อกนี้ผมตั้งใจจะรวบรวม โรงพิมพ์ สำนักพิมพ์ สิ่งพิมพ์ ที่จะช่วยให้ท่านได้ข้อมูลไปใช้งาน รวมๆเอาไว้หลายสำนักพิมพ์เลย

สำนักพิมพ์ - สถาพรบุ๊คส์

สำนักพิมพ์ - ตะวันส่อง

สำนักพิมพ์ - บลูเบลล์

สำนักพิมพ์ - แจ่มใส

สำนักพิมพ์ - นามมีบุ๊คส์

สำนักพิมพ์ - อิสระบุ๊คส์

สำนักพิมพ์ - สีม่วงอ่อน / Come On

สำนักพิมพ์ - E.Q. Plus

สำนักพิมพ์ - เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ [NED]

สำนักพิมพ์ - เนชั่นบุ๊คส์

สำนักพิมพ์ - สกายบุ๊คส์

สำนักพิมพ์ - Bliss Publishing

สำนักพิมพ์ - อักขระบันเทิง

สำนักพิมพ์ - อักษรเจริญทัศน์ [อจท.]

สำนักพิมพ์ - มธุรดา

สำนักพิมพ์ - ใยไหม

สำนักพิมพ์ - มติชน

สำนักพิมพ์ - สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สำนักพิมพ์ - พลอยจันทร์

สำนักพิมพ์ - ณ บ้านวรรณกรรม

สำนักพิมพ์ - คมบาง

สำนักพิมพ์ - อินโฟเพรส

สำนักพิมพ์ - แม็ค

สำนักพิมพ์ - ประพันธ์สาส์น

สำนักพิมพ์ - บงกช

สำนักพิมพ์ - วิบูลย์กิจ

สำนักพิมพ์ - Loveberry

สำนักพิมพ์ - Fine Book

สำนักพิมพ์ - พูนิก้า

สำนักพิมพ์ - เลมอนที

สำนักพิมพ์ - D-sire

สำนักพิมพ์ - อินเลิฟ

สำนักพิมพ์ - พลายชมพู

สำนักพิมพ์ - แสงดาว

สำนักพิมพ์ - หนังสือดอกหญ้า

สำนักพิมพ์ - Book Time

สำนักพิมพ์ - DMG Book

สำนักพิมพ์ - เพื่อนสำนักพิมพ์

สำนักพิมพ์ - เพชรกะรัต

สำนักพิมพ์ - แสงแดด

สำนักพิมพ์ - ธีรสาส์น

สำนักพิมพ์ - บ้านหนังสือโกสินทร์

สำนักพิมพ์ - ข้าวฟ่าง

สำนักพิมพ์ - ผีเสื้อ

สำนักพิมพ์ - ฟิสิกส์เซ็นเตอร์

สำนักพิมพ์ - 1168 Publishing

สำนักพิมพ์ - ทองเกษม




วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2554

บริษัท วัน โอ ไฟว์ ดิจิตอลพริ้นติ้ง จำกัด



โรงพิมพ์ บริการงานสิ่งพิมพ์และงานเอกสารเพื่อธุรกิจครบวงจร เปิดให้บริการปริ้นท์ออนไลน์ ( Online Printing ) ผ่านทาง www.105printing.com ตั้งแต่ปี 2546 เป็นรายแรกๆ ในประเทศไทย โดยเราให้บริการแก่ท่านเสมือนว่าเรายกสำนักงานมาให้บริการคุณถึงที่ ซึ่งในขณะนั้นการให้บริการสิ่งพิมพ์เอกสารและลูกค้าผ่านทางเว็บไซต์ยังไม่ เป็นที่คุ้นเคยในประเทศไทย
จากการสั่งสมประสบการณ์ในธุรกิจสิ่งพิมพ์และงานเอกสารมาเป็นเวลานาน ผนวกกับความเข้าใจในการให้บริการลูกค้างานปริ้นท์ออนไลน์ ทำให้เราเข้าใจลูกค้า และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี ด้วยความชำนาญในการให้บริการที่ครบวงจรทั้งงานเอกสารและสิ่งพิมพ์ ทำให้องค์กรธุรกิจของท่านสามารถจัดการงานดังกล่าวได้ครบถ้วน และง่ายขึ้นในที่เดียว
เราให้บริการท่านด้วยเครื่องมือทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นงานพิมพ์ออฟเซ็ต สกรีน ดิจิตอลออฟเซ็ท ( Digital Offset Printing ) ปริ้นท์อิงค์เจตหน้ากว้าง ( Large Format Printing ) งานพิมพ์ส่วนบุคคล เพื่อสามารถให้บริการงานแก่ท่านในจำนวนน้อยหรือมากได้ตามความต้องการของท่าน ( Print on Demand ) แม้งานพิมพ์ของท่านใช้เพียง 1 ชิ้น ก็ตาม
ในส่วนงานบริการเอกสาร นอกจากบริการถ่ายเอกสาร โรเนียว เรายังให้บริการจัดทำเอกสารประชุมสัมนา รายงาน แบบฟอร์ม รายงานประจำปี ( Annual Report ) ทั้งในแบบรูปเล่ม หรือ CD งานสแกนเอกสาร เพื่อเก็บเอกสารในรูปแบบดิจิตอล รวมถึงงานบริการอื่นๆ เช่น สแกนเอกสาร ตรายาง อีกด้วย
ออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ชั้นนำทุกชนิด อาทิ นามบัตร โบร์ชัวร์ ใบปลิว แผ่นพับ หนังสือ วารสาร คู่มือ สมุด สมุดฉีก วอยรับประกัน สติ๊กเกอร์ โปสเตอร์ การ์ดเชิญ บรรจุภัณฑ์/ฉลากสินค้า ปฏิทิน แคตตาล๊อก เมนูอาหาร ไวนิล ป้าย x-stand rowup stand ตรายาง ปกเทป ปกซีดี/ปกวีซีดี กระดาษต่อเนื่อง หัวจดหมาย/ซอง ใบเสร็จ ใบส่งสินค้า แผนที่ Design เว็บไซต์ ภาพถ่ายงานรับปริญญา ภาพถ่ายสินค้า ภาพถ่ายงาน Event ภาพถ่ายประชุมสัมนา ภาพถ่ายแต่งงาน VDO งาน Event VDO ประชุมสัมนา VDO พิธีมงคลสมรส VDO Presentation VDO งานพิธีต่างๆ VDO วาไรตี้
--------------------------------------------------------------

บริษัท วัน โอ ไฟว์ ดิจิตอลพริ้นติ้ง จำกัด
36 ซลาซาน 29 แขวงบางนา กทม. 10260
โทร 0-2744-5575-6
แฟกซื 0-2744-5578

วันเสาร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2554

โรงพิมพ์ ยูไนเต็ด โปรดักชั่น




จุดเริ่มต้นของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์ยูไนเต็ดโปรดักชั่น ในปีพุทธศักราช 2517 ดำเนินการธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ จากประสบการณ์ และความชำนาญการทุกๆ ด้านที่เกี่ยวกับธุรกิจสิ่งพิมพ์ เราทุ่มเทและมุ่งมั่นสร้างสรร พัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์ ที่มีคุณภาพ อย่างต่อเนื่อง ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และเทคนิคพิเศษในการผลิตจึงทำให้เราเป็นที่ยอมรับ เป็นหนึ่งในโรงพิมพ์ ในประเทศไทยที่มีศักยภาพในการผลิตสูง และมากด้วยความหลายหลายในสินค้าและบริการ และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบถ้วน
จนถึงปัจจุบันในวันนี้ เราได้เปลี่ยนเป็น บริษัทโรงพิมพ์ ยูไนเต็ดโปรดักชั่น จำกัด ในฐานะโรงพิมพ์ที่เป็นผู้นำด้านการผลิดด้วยเทคนิคพิเศษ เรามีความภาคภูมิใจที่มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์งานพิมพ์ คุณภาพสูง และ พัฒนาเทคนิคการพิมพ์ อย่างไม่หยุดยั้ง สู่สังคมไทย และยกระดับมาตราฐานอุตสหกรรมสิ่งพิมพ์ในประเทศไทย
ด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัยและระบบการทำงานที่ครบวงจร สร้างความได้เปรียบในด้านของเวลาการผลิต ขั้นตอนการผลิต และต้นทุนการผลิต จึงทำให้เราสามารถแข่งขันในโลกของธุรกิจในปัจจุบัน สอดคล้องกับภาวเศษฐกิจได้และความต้องการของตลาดได้ตลอดเวลา

ที่อยู่

โรงพิมพ์ ยูไนเต็ด โปรดักชั่น
เลขที่ 220 หมู่ 13 ซอยเพชรเกษม 93 ถนนเพชรเกษม
ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร 74130
โทร. 02-8138914-5
แฟกซ์ 02-813-8919
e-mail : info@unitedpremium.com
united-production@hotmail.com